1. ประวัติความเป็นมา
     องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ต้าน เป็นหน่วยราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ได้รับการจัดตั้งขึ้นตาม พระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ.2537 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 ที่ทำการขณะนั้น ตั้งอยู่ ที่ว่าการอำเภอท่าสองยาง
     - พ.ศ.2542 ได้ย้ายที่ทำการอยู่ที่ หมู่ที่ 1 บ้านใหม่
     - พ.ศ.2544 ได้เปลี่ยนจากระบบการบริหารงานจากประธานกรรมการบริหาร มาเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
     - พ.ศ.2547 ย้ายที่ทำการใหม่ อยู่ที่หมู่ที่ 2 บ้านลำร้อง
     - ปีต่อมาได้ย้ายที่ทำการมายังสำนักงานแขวงการทางตากอำเภอท่าสองยาง เนื่องจากพื้นที่ ดังกล่าวว่าง และไม่มีผู้ใช้พื้นที่
     - พ.ศ.2551 ได้ย้ายที่ทำการมายังอาคารอเนกประสงค์สำนักงาน เลขที่ 433 หมู่ที่ 2 ถนนสายแม่สอด-แม่สะเรียง จนถึงปัจจุบัน

2. ที่ตั้งและอาณาเขต
     2.1 ที่ตั้ง อยู่แนวบริเวณเทือกเขาถนนธงชัย ทิศตะวันออก ของอำเภอท่าสองยาง มีรูปร่างวางตัวเป็น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตามแนวขวางของแม่น้ำเมย
     2.2 เนื้อที่ มีประมาณ 237.74 ตารางกิโลเมตร (148,587.5 ไร่)
     2.3 อาณาเขต
            ทิศเหนือ       ติดกับ ตำบลแม่อุสุ อำเภอท่าสองยาง
            ทิศใต้           ติดกับ ตำบลแม่หละ อำเภอท่าสองยาง
            ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
            ทิศตะวันตก   ติดกับ Myanmar

3. ข้อมูลสถิติประชากร
     ประชากรในเขตตำบลแม่ต้าน ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง (ปว่าเกอะญอ)

หมู่ที่

พื้นที่
ตร.กม.

จำนวนประชากร

จำนวน
ครัวเรือน

ผู้ใหญ่บ้าน

กลุ่มบ้าน

ชาย

หญิง

รวม

 หมู่ที่ 1
       บ้านใหม่

19.37

588

491

1,079

450

 นายวรากร กันธวัง

 บ้านใหม่

 หมู่ที่ 2 
       บ้านลำร้อง

23.42

76

75

151

144

 นายสุชาติ กาวงศ์

 บ้านลำร้อง

หมู่ที่ 3
       บ้านแม่ต้อคี

25.34

650

569

1,219

412

 นายสมรักษ์ มนต์มังกร

 บ้านแม่ต้อคี , บ้านเลอผาโด้ ,
 บ้านตะพิโจ , บ้านมะโอโกร

 หมู่ที่ 4 
       บ้านแบรอทะ

30.01

642

630

1,272

373

 นายทรงวุฒิ ดาวดาษดา

 บ้านป้อหย่าลู่ , บ้านตะโขะชิ๊ ,
 บ้านตะบรึโหย่, บ้านตะโป๊ะปู่

 หมู่ที่ 5 
       บ้านห้วยปูแกง

27.88

407

428

835

378

 นายอานุภาพ โกศลฉลาด

 บ้านห้วยปูแกงใน , บ้านห้วยปูแกงนอก,
 บ้านแม่ขมุน้อย

 หมู่ที่ 6
       บ้านขุนห้วยแม่ต้าน

16.04

544

486

1,030

474

 น.ส.อังคณา ศักดิ์ชัยบูรณ์  กำนันตำบลแม่ต้าน

 บ้านขุนห้วยแม่ต้านเหนือ ,
 บ้านขุนห้วยแม่ต้านใต้

 หมู่ที่ 7
       บ้านแม่โพ

29.26

598

540

1,138

459

 นายนคร เสือถวิลไพร

 บ้านแม่โพ , บ้านห้วยแมงบ้ง

 หมู่ที่ 8 
       บ้านแกละมือโจะ

36.40

793

742

1,535

504

 นายบุญส่ง ชัยโรจน์ปัญญา

 บ้านแกละบือโจะ , บ้านอู่หู่

 หมู่ที่ 9 
       บ้านทุ่งถ้ำ

18.74

803

794

1,597

376

 นางจำลอง พงษ์ไพรพนา

 บ้านทุ่งถ้ำ

 หมู่ที่ 10 
       บ้านทุ่งนาสูง

14.03

581

530

1,111

361

 นายบุญชัย สิงห์จุฬา

 บ้านวะเมคี , บ้านโก้ผาโด้ ,
 บ้านพะบอเรโค๊ะ , บ้านกะแนเรทะ ,
 บ้านแม่ต้อเรเคาะ

รวม

237.74

5,682

5,285

10,967

3,931

 

25 กลุ่มบ้าน

ข้อมูล ณ เดือน ธันวาคม พ.ศ.2565

๔. ลักษณะทางภูมิศาสตร์และลักษณะภูมิอากาศ
     สภาพพื้นที่ เป็นพื้นที่ราบสูงเชิงเขา มีที่ราบเล็กน้อยตามริมแม่น้ำ และตามหุบเขาพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าท่าสองยาง
     ภูเขา มีเทือกเขาถนนธงชัย ทอดยาวจากเหนือจดใต้
     แม่น้ำ แม่น้ำเมย กั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับสหภาพพม่า
     สภาพภูมิอากาศ จากสภาพทีอยู่แนวเทือกเขาถนนธงชัย และอยู่ในร่องมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จากทะเลอันดามันพัดพา ทำให้ภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม
เขตร้อน ฝนตกชุกเกือบทั้งปี คือตลอดช่วง 8 - 9 เดือน โดยเฉพาะในเดือนมิถุนายน ถึง เดือนสิงหาคม เป็นช่วงที่ฝนตกชุกมาก ลักษณะภูมิอากาศเช่นนี้
ทำให้มีด้วยกัน ๓ ฤดู คือ
     - ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน มีนาคม-เมษายน ร้อนมากในเดือน เมษายน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 28-33 องศาเซลเซียส
     - ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ตกมากในเดือนสิงหาคม อุณหภูมิโดยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 19-29 องศาเซลเซียส
     - ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนธันวาคม เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ป่าสมบูรณ์และป่าต้นน้ำ
พื้นที่เป็นที่ราบสูงอากาศจึงหนาวเย็นมาก อุณหภูมิโดยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 10-18 องศาเซลเซียส

5. สภาพเศรษฐกิจ
     ประชากรส่วนใหญ่ ประกอบ อาชีพหลัก ทำนา ทำสวน ทำไร่ อาชีพเสริม เลี้ยงสัตว์ รับจ้าง

6. อาชีพ
     - การเกษตรกรรม ตำบลแม่ต้านมีพื้นที่การเกษตรทั้งสิ้น 14,036 ไร่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมคือ ข้าวไร่ พืชไร่ ข้าวโพดสัตว์เลี้ยง ถั่วเหลือง เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีการทำประมงและการเลี้ยงสัตว์บ้าง โดยมีสามารถแสดงการแบ่งพื้นที่ตามสภาพการใช้งานและตามพืชเศรษฐกิจ
     - การปศุสัตว์ ได้แก่ ไก่ โค กระบือ สุกร แพะ เป็ด ฯลฯ
     - รายเฉลี่ยของประชากร รายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปีของประชากรในพื้นที่เท่ากับ 23,000 บาท

7. ท้องถิ่นอื่นในตำบล
     - จำนวนเทศบาล 1 แห่ง

8. สภาพสังคม
     ประชากรในเขตตำบลแม่ต้าน ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง (ปว่าเกอะญอ)
     การคมนาคมขนส่งต่างๆ เป็นไปด้วยความยากลำบาก ส่งผลให้การพัฒนาด้านการเมือง สังคม และเศรษฐกิจเป็นไปอย่างล่าช้า
     สภาพความเป็นอยู่ของประชากรส่วนใหญ่จึงยากจน แต่ชาวตำบลแม่ต้านมีความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
     ทำให้ชาวแม่ต้านทั้งที่เป็นชาวไทยและชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงอยู่ด้วยกันอย่างสันติสุข

9. การศึกษา
     ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ต้านให้ความสำคัญกับการศึกษาของเด็กและเยาวชนในตำบลเป็นอย่างมาก เพื่อให้การศึกษามาช่วยพัฒนาความรู้ของเด็กและเยาวชนและนำไปสู่การพัฒนาตำบลอย่างมีศักยภาพต่อไป
     - โรงเรียนประถมศึกษา 4 แห่ง
     - ห้องเรียนเคลื่อนที่ 1 แห่ง
     - ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน 6 แห่ง
     - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง

10. ศาสนา
     ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และบางส่วนนับถือศาสนาคริสต์มี ประเพณีวัฒนธรรมแบบภาคเหนือและประเพณีท้องถิ่น
จำนวนสถาบันศาสนา
     - วัด/สำนักสงฆ์ 12 แห่ง
     - โบสถ์คริสต์ 7 แห่ง

11. ศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น
     - ประเพณีสักการะศาลเจ้าพ่อโมกขละ
     - ประเพณีทำบุญขึ้นพระธาตุห้วยลึก
     - ประเพณีปีใหม่ปว่าเกอะญอ

12. สาธารณสุขในตำบล
     มีโรคติดต่อที่นำเชื้อโดยยุงอยู่หลายชนิด ได้แก่ มาลาเรีย เท้าช้าง ไข้สมองอักเสบ จากสภาพพื้นที่ที่เอื้อต่อการเพาะพันธุ์ อีกทั้งยังมีการแพร่ระบาดเข้ามาทางประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย
     - โรงพยาบาลของรัฐ 1 แห่ง (โรงพยาบาลท่าสองยาง)
     - สถานบริการสาธารณสุขชุมชน 2 แห่ง
     - จุดมาลาเรียโพส 2 แห่ง
     - อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ยังไม่ครบทุกหมู่บ้านโดยเฉพาะหมู่บ้านบนที่สูง

13. ความปลอดภัยในทรัพย์สิน
     - พี่พักสายตรวจ 1 แห่ง

14. ไฟฟ้าในตำบล
     หมู่บ้านที่มีไฟฟ้าใช้ จำนวน 6 หมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านที่อยู่ติดกับถนนสายหลัก (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105)
ส่วนหมู่บ้านที่อยู่บนพื้นที่สูงอีกจำนวน 5 หมู่บ้าน จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (โซล่าเชลล์)

15. การโทรคมนาคมและสื่อสาร
     - อินเตอร์เน็ตตำบล 1 แห่ง
     - หอกระจายข่าว 9 แห่ง

16. ประปาในตำบล
     - ประชากรในตำบลแม่ต้าน มีประปาใช้อย่างทั่วถึงทุกครัวเรือน

17. ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
     - ทรัพยากรดิน พื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลแม่ต้าน อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าท่าสองยาง ทำให้ราษฎรไม่สามารถมีเอกสารสิทธิในที่ดินได้ ทำให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินน้อยมาก และพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวปนทราย และดินร่วนอยู่บริเวณสองข้างฝั่งลำห้วย ซึ่งเป็นที่ราบในบริเวณหุบเขา
จะพบว่าเป็นดินลูกรัง หรือหินก้อนใหญ่
     - ทรัพยากรน้ำ มีแม่น้ำเมยซึ่งเป็นแม่น้ำกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศพม่า ไหลผ่านยาวประมาณ 20 กิโลเมตร ไหลจากทิศใต้ไปทางทิศเหนือลงสู่แม่น้ำสาละวิน ราษฎรริมฝั่งแม่น้ำใช้เป็นแหล่งทำมาหากิน และใช้เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ
และยังคงเป็นต้นธารหล่อเลี้ยงชีวิตคนให้ธำรงชีวิตอยู่ได้ต่อไป แม้จะไม่สมบูรณ์เหมือนเมื่อก่อน
     - ทรัพยากรป่าไม้ มีพื้นที่เป็นภูเขาและที่ราบสูง ส่วนใหญ่อยู่ในเขตป่าสงวนและเขตอุทยานแห่งชาติ ป่าไม้ที่สำคัญได้แก่ ป่าสงวนแห่งชาติป่าท่าสองยาง เป็นป่าประเภท ป่าสนเขา ป่าเบญจพรรณ ป่าแดง ไม้ที่พบส่วนใหญ่เป็นพวก ไม้สักและไม้กระยาเลยแต่ปัจจุบันสภาพป่าถูกทำลาย
จนลดความสมบูรณ์ลงไปมาก
     - สัตว์ป่า ที่พบแต่ไม่เป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า เช่น เก้ง กวาง หมูป่า ลิง เลียงผา
     - ของป่า ที่พบ เช่น น้ำผึ้ง หน่อไม้ เปลือกไม้
     - แร่ธาตุ มีพบเห็นบ้าง แต่ไม่มีมากนัก

18. การคมนาคม
     พื้นที่หมู่บ้านอาศัยการเดินทางเท้าเป็นหลัก การคมนาคมขนส่งต่างๆ เป็นไปด้วยความยากลำบาก ส่งผลให้การพัฒนาด้านการเมือง สังคม
และเศรษฐกิจเป็นไปอย่างล่าช้า สภาพความเป็นอยู่ของประชากรส่วนใหญ่จึงยากจน การสร้างทางคมนาคมที่สำคัญเพื่อให้มีการติดต่อระหว่างหมู่บ้าน
ต่างๆ และส่งผลผลิตออกสู่ตลาด แต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ทั่วถึงทุกหมู่บ้าน เนื่องจากบางพื้นที่เป็นภูเขาสูง

     จำนวนเส้นทางคมนาคม/จราจร
     - ถนนลูกรัง 10 สาย รวมระยะทางประมาณ 71.85 กิโลเมตร
     - ถนนคอนกรีต 11 สาย รวมระยะทางประมาณ 25.26 กิโลเมตร
     - ถนนลาดยาง 1 สาย รวมระยะทางประมาณ 0.12 กิโลเมตร
     - ถนนที่เชื่อมต่อกับ อปท.อื่น 1 สาย รวมระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร

19. แหล่งน้ำในตำบล
แหล่งน้ำธรรมชาต
     - แม่น้ำเมย กั้นระหว่างประเทศไทยกับประเทศเมียร์มา
     - ลำห้วย มี 4 สาย ได้แก่ ห้วยขุนห้วยแม่ต้าน ห้วยแม่ขมุน้อย ห้วยแม่โพ ห้วยทุ่งถ้ำ
น้ำที่สร้างขึ้น
     - ฝาย 1 แห่ง
     - บ่อน้ำตื้น 6 แห่ง
     - สระน้ำ 1 แห่ง

20. ลักษณะการใช้ที่ดิน
     - พื้นที่พักอาศัย 28 แห่ง 450 ไร่
     - พื้นที่พาณิชยกรรม 40 แห่ง 10 ไร่
     - พื้นที่ตั้งหน่วยงานของรัฐ 21 แห่ง 599 ไร่

21. มวลชนจัดตั้ง
     - อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) 3 รุ่น 180 คน
     - ชรบ. 1 รุ่น 30 คน
     - หนึ่งตำบลหนึ่งทีมกู้ภัย (OTOS)

22. แผนที่ อบต.แม่ต้าน

     
     
     

 

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *